Strawberry On Top Of Cupcake

บริษัท Good Night จำกัด

บริษัท Good Night จำกัด


ประวัติความเป็นมาของบริษัท
          ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาตลอดระยะเวลา 6 ปี ที่ผ่านมา Good Night คือชื่อยี่ห้อชุดเครื่องนอนที่อยู่ในใจของผู้บริโภคคนไทย ซึ่งเชื่อมั่นในคุณภาพ รูปแบบ สี เนื้อผ้า ที่ทางบริษัทฯ ยึดมั่นและซื่อตรงในการผลิตมาตลอด จวบจนถึงปี ค.ศ. 2010 ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทในเครื่องผู้ผลิต Good night ภายใต้การบริการง่านของ บริษัท Good night จำกัดถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญ ที่ก้าวสู่ศหัสวรรษใหม่ด้วยการพัฒนา เปลี่ยนแปลง ขยายไลน์การผลิตใหม่ สำหรับเครื่องนอน เต็มรูปแบบ Good night ผลิตด้วยเครื่องจักร และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในแถบเอเชีย พร้อมด้วยบุคคลกรคนไทย ที่เปี่ยมด้วยความชำนาญในการผลิตเครื่องนอนกว่า  6 ปี ทำให้ชุดเครื่องนอน Good Night  เต็มด้วยคุณภาพของเนื้อผ้า สี และลายพิมพ์ โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการเสนอรูปแบบชุดเครื่องนอน Good Night ในครั้งนี้จะอยู่ในใจของผู้บริโภคคนไทยตราบนานเท่านาน
ชุดเครื่องนอน Good Night  ผลิตด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า และทันสมัยที่สุดในเอเชีย เครื่องทอที่ใช้สามารถทอผ้าได้หน้ากว้างถึง 110 นิ้ว เป็นระบบทอ Airjet  ทำให้เส้นด้วยไม่ซ้ำ และเนียนเรียบระหว่างทอ พร้อมควบคุมอุณหภูมิความชื้น และกรองฝุ่น โดยใช้เครื่องจักร จากประเทศเยอรมัน ผ้าดิบที่ได้จะถูกลำเลียงเข้าสู่กระบวนการ PRETREATMENT ด้วยเครื่องจักรจากต่างประเทศเยอรมัน

ภารกิจหลักของบริษัท
          มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายและส่งออกชุดเครื่องนอนทั่วไป โดยมีเป้าหมายในการเป็นชุดเครื่องนอนที่เป็นที่นิยมสูงสุด และมีสาขาครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพทั่วประเทศ ด้วยรูปแบบธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกที่มีสินค้าและบริการที่ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

วัตถุประสงค์ของบริษัท
1. เพิ่มยอดขายในแต่ละเดือนให้มากขึ้น
2. เพื่อให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเราเป็นที่รู้จักมากที่สุด
3.เพื่อให้ลูกค้ายอมรับให้บริษัทของเรา


แผนผังองค์กร

หน้าที่และปัญหาแต่ละฝ่าย มีดังนี้

ฝ่ายงานบริหาร
1. แผนกบัญชี มีหน้าที่ดังนี้
-ควบคุมดูแลงานด้านการบริหารงานบัญชีและการเงิน รายรับ-รายจ่ายของบริษัท
-ควบคุมยอดทางด้านงบการเงิน วิเคราะห์งบการเงินในแต่ละเดือน
-ควบคุมดูแลจัดทำงบลงทุน งบกำไรขาดทุน งบดุลและปิดงบการเงิน
- เบิกจ่ายรายจ่ายที่จัดสรรแล้วให้แก่แผนกต่างๆ
-ควบคุมอนุมัติรายจ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้จัดสรรไว้

ปัญหาของแผนกบัญชี คือ
1. อาจเกิดข้อผิดพลาดในการคิดบัญชีรายรับ รายจ่ายได้
2. ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหายเพราะเอกสารมีจำนวนมากและไม่มีการจัดเก็บให้เป็นระเบียบ
3. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสารเพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
4. รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
5. การจัดบัญชีรายรับ รายจ่าย ตัวเลขอาจจะตกหล่น ไม่ครบสมบูรณ์ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย

2. แผนกบุคคล มีหน้าที่ดังนี้
-การจัดสรรหาพนักงานเข้ามาทำงานให้เหมาะสมตามความต้องการขององค์กรหรือแต่ละแผนกและการทำสัญญาการจ้างทำงานโดยยึดหลักนโยบายของบริษัทและความพึงพอใจของพนักงาน
-การบริหารค่าแรง สวัสดิการ ประกันสังคม ภาษี
-การจัดทำแผนการอบรมพัฒนา ทำสถิติความต้องการในการจัดอบรม การหาและกำหนดตัวของวิทยากรที่ให้ความรู้
-ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในการปรับค่าจ้าง
-สรุปยอดการปฏิบัติงานของการบริหารงานบุคคลประจำปี
ปัญหาของแผนกบุคคล คือ
1. การจ่ายเงินเดือนพนักงานตกหล่น เพราะสวัสดิการแต่ละคนไม่เท่ากัน
2. ตรวจสอบวันลา หยุดของพนักงานทำได้ยาก
3. ไม่ทราบเวลาเข้าออกของพนักงานเพราะต้องเขียนอย่างเดียวง่ายต่อการปลอมแปลงลายเซ็น

ฝ่ายงานธุรการ
1. แผนกประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ดังนี้
 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในของบริษัทรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าและพัฒนาและติดตามลูกค้าทางโทรศัพท์และทางจดหมายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบข่าวสารของบริษัท

ปัญหาของแผนกประชาสัมพันธ์ คือ
1.การติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
2. สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ

2. แผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ มีหน้าที่
-ดูแลความเรียบร้อยและตรวจเช็คสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า
- สั่งซื้อสินค้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้า
-Support หน่วยงานต่างๆ ให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้

ปัญหาของแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
1.ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยากเนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
2. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
3. ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไม่เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
4. การสต็อกสินค้าไม่เพียงพอ
5. จัดหาวัตถุดิบไม่ได้ตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ
6.วัตถุดิบบางตัวมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ไม่ต้องตามเป้าหมายที่วางไว้

ฝ่ายปฏิบัติการ
แผนกงานขาย/การตลาด มีหน้าที่ดังนี้
-วิเคราะห์วางแผนกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งรายชื่อลูกค้าเป้าหมายในแต่ละกลุ่มและกำหนดเป้ายอดขายในแต่ละกลุ่มลูกค้าที่มีความเป็นไปได้ให้กับฝ่ายขายไปดำเนินการ
-วิเคราะห์วางแผนจัดการใหม่การส่งเสริมการขายด้วยการวางแผน เข้าร่วม โครงการกิจกรรม การประกวดผลงาน หรือผลิตภัณฑ์ที่หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆจัดใหม่ขึ้นในแต่ละปี
-วิเคราะห์วางแผน และดำเนินการสร้าง สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์และเผยแพร่โฆษณา PR ไปยังสื่อต่างๆ
-วิเคราะห์วางแผน กำหนดเป้าหมาย และดำเนินการสร้าง ตัวแทนจำหน่ายและผู้สร้างระบบ (Implementor) ในแต่ละช่องทางจัดจำหน่าย สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มเพื่อให้ได้ยอดขายตามที่กำหนด

ปัญหาของแผนกขายคือ
1. เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ ซึ่งมีเอกสารดังนี้
1.1 เอกสารข้อมูลลูกค้า
1.2 เอกสารข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า
1.3 เอกสารเกี่ยวกับ สินค้า
2. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนเนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้งแต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้ง ทำใหม่เอกสารซ้ำซ้อน
3. ข้อมูลมีความแตกต่าง เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลงเช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่เพราะลูกค้าอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์ลายเบอร์และมีการย้ายสถานที่อยู่เรื่อย ๆ
4. เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า

ฝ่ายเทคโนโลยี
แผนกผู้ควบคุมระบบภายใน
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่ายจัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่ายเพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาแผนกผู้ควบคุมระบบภายใน
1.ด้านบุคลากรด้าน it อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านบุคลากรก่อนทำให้ค้นที่เข้ามาใหม่ไม่ทราบเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีทั้งหมดต้องเสียเวลาในการเรียนรู้
2.ด้านผู้ใช้งาน อาจจะไม่เข้าใจวิธีการทำงานของ ระบบงานมีปัญหานิดหน่อยก็ต้องให้เจ้าหน้าที่มาดูให้ซึ่งจะทำให้เสียเวลา

ปัญหาระหว่างแผนกที่เกี่ยวข้องกัน
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกประชาสัมพันธ์
            - บัญชีและการเงินไม่สามารถทำเรื่องเบิกจ่ายให้ได้ หากประชาสัมพันธ์ไม่แจ้งยอดของบประมาณในการประชาสัมพันธ์

ปัญหาแผนกบัญชีกับแผนกบุคคล
            - ฝ่ายบัญชีไม่ทราบชั่วโมงการทำงานของพนักงาน เนื่องจากฝ่ายบุคคลไม่แจ้งให้ถี่ถ้วน
- บัญชีและการเงินจะไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้พนักงานไม่ได้ หากแผนกบุคคลไม่แจ้งชั่วโมงการทำงานของพนักงานให้ทราบ
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกการขาย
            - ถ้าการขายแจ้งยอดการสั่งซื้อสินค้า ยอดขายสินค้าไม่ถูกต้องทำให้ฝ่ายบัญชีเกิดความผิดพลาดไปด้วย
            - บัญชีและการเงินไม่สามารถประเมินยอดขายสินทั้งหมดได้ แล้วสรุปยอดทั้งหมดได้ เนื่องจากฝ่ายขายไม่ส่งยอดมาให้
ปัญหาระหว่างแผนกบุคคลกับแผนกบัญชี
            - บุคคลจะได้รับเงินไม่ถูกต้อง หากบัญชีและการเงินจ่ายเงินมาให้ไม่ครบถ้วน
            - ฝ่ายบุคคลไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีที่ถูกต้อง

ปัญหาระหว่างแผนกการขายกับแผนกประชาสัมพันธ์
- การขายอาจจะมียอดขายต่ำหากไม่ได้รับประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมและทั่วถึง

ปัญหาระหว่างแผนกการช่าง/การผลิตกับแผนกบุคคล
            -การผลิตสินค้าจะไม่สามารถทำได้ หากไม่มีพนักงาน

สรุปปัญหาทั้งหมด
1. พนักงานเข้างานไม่ตรงเวลา ทำให้การผลิตสินค้า มีความล่าช้า ไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้า
2. พนักงาน มีปัญหากัน เกิดการเกี่ยงกันทำงาน
3. บุคลากรไม่เพียงพอต่อตำแหน่งงานที่มี
4. ใช้เงินในการลงทุนสูง
5. มีคู่แข่งทางการตลาดมากขึ้น
6. เกิดความผิดพลาดในการเช็คสต็อกของ
7. เกิดความผิดพลาดในการเช็คสต็อกของ
8. จัดเก็บสินค้าไม่เป็นระเบียบยากต่อการค้นหา
9. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
10. ข้อมูลมีความแตกต่าง เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลงเช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ เพราะลูกค้าอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์หลายเบอร์และมีการย้ายสถานที่อยู่เรื่อย ๆ

ระบบที่จะนำมาแก้ปัญหา
1. ระบบบัญชี
2. ระบบงานบุคคล
3. ระบบจัดเก็บข้อมูลภายใน
4. ระบบคลังสินค้า/การขาย
5. ระบบประชามสัมพันธ์

ตาราง การทำงาน  (Functions) ทางธุรกิจทั้งของบริษัท


แสดงการจำแนกกิจกรรม (Activates) ของหน้าที่การทำงาน (Function) ในบริษัท


แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(Function-to-Data Entities)


เกณฑ์ในการตัดสินใจ
1. เพิ่มจำนวนลูกค้า
2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
3. ลดต้นทุนแต่ประสิทธิเพิ่มขึ้น
4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. เพิ่มผลกำไร
6. เน้นสินค้าให้ได้มาตรฐาน